รีวิว pantip คาร์ซีท ดีอย่างไรทำไหมต้องมี-เลือกแบบไหนดี


Table of Contents

คาร์ซีท ดูยังไง เลือกแบบไหนดี 2566 (2023)

 “คุณไม่ได้ซื้อแค่คาร์ซีท แต่คุณซื้อความปลอดภัยให้ลูก”
อยากให้ลูกปลอดภัย ต้องทำความเข้าใจ คาร์ซีท
(บทความนี้เพื่อความปลอดภัย อ่านให้จบนะคะ)

กลายเป็นปัญหาระดับชาติกันเลยค่ะ เมื่อคุณพ่อแม่กำลังมองหาคาร์ซีทให้ลูก ตัวโน้นก็ดี ตัวนี้ก็ดัง รุ่นนั้นก็เด่น อีกรุ่นก็โดน โอ๊ย!!! ตัดสินใจไม่ได้!!! แต่แน่ใจหรือยังว่าเรารู้จักคาร์ซีทดีแล้ว หากกำลังหาคำแนะนำคาร์ซีทล่ะก็ คุณพ่อแม่อย่าเพิ่งเลื่อนผ่านค่ะ เพราะ Punnita จะมาแนะนำพร้อมกับให้ความรู้แบบรวดเดียวจบ รู้เรื่องกันไปเล้ย!!! เอาเป็นว่าไม่พูดพร่ำทำเพลงให้เสียเวลา เราไปหาคำตอบกันค่า

การเลือกคาร์ซีท (Car seat)

สำคัญ! ซื้อผิด ชีวิตเปลี่ยน! ดูให้ดี!

อันดับแรกเลย สำคัญที่สุดในการการเลือกคาร์ซีท คือต้องพิจารณา จาก 3 ข้อนี้

•    ดูที่รถว่ามี isofixหรือไม่

•    ดูที่อายุหรือน้ำหนักหรือส่วนสูงตัวคนนั่งคาร์ซีท

•    ดูที่ตัวคาร์ซีทว่าต้องการใช้แบบไหน

•    ดูที่รถว่ามี isofix หรือไม่ (สำคัญ)


ดูว่ารถของเรานั้นมี isofixหรือเปล่า? (วิธีดู isofixอ่านในหัวข้อ isofixด้านล่างบทความ) 
หากรถเราไม่มี isofix แต่ไปซื้อคาร์ซีทที่ติดตั้งแบบ isofix มา ก็เท่ากับว่าซื้อมาเสียตังค์เปล่าๆ เพราะไม่สามารถใช้งานด้วยกันได้! (เหมือนกุญแจ กับลูกกุญแจคนละดอก) 
ฉะนั้นแล้ว “หากรถมี isofix ก็ควรซื้อคาร์ซีทที่ติดตั้งแบบ isofix”
“หากรถไม่มี isofixให้ซื้อคาร์ซีทที่ติดตั้งแบบเบลท์”

*หมายเหตุ* คาร์ซีทบางรุ่น ก็สามารถติดตั้งได้ทั้งแบบ isofixและแบบเบลท์ เวลาซื้อก็สามารถสอบถามคนขายได้เลยว่าคาร์ซีทตัวนั้นๆ ติดตั้งแบบไหน

•    ดูที่อายุหรือน้ำหนักหรือส่วนสูงตัวคนนั่งคาร์ซีท


ข้อนี้สำคัญเลย เพราะการเลือกคาร์ซีทต้องเลือกคาร์ซีทที่เหมาะสมกับตัวคนนั่ง ยกตัวอย่างเช่น เด็กแรกเกิด แต่คุณพ่อแม่เผลอไปซื้อคาร์ซีทสำหรับเด็กโตมาใช้ ซึ่งมันไม่ถูกต้องและไม่ควร เพราะการออกแบบคาร์ซีทของเด็กเล็กและเด็กโตนั้นจะมีรายละเอียดการใช้งานที่แตกต่างกัน (หรือแม้แต่คาร์ซีทบางตัวที่บอกว่าใช้ได้ตั้งแต่เด็กเล็กก็จริง แต่พอวางเด็กลงไปแล้วตำแหน่งคาร์ซีทเช่นส่วนซัพพอร์ตศีรษะไม่รองรับอย่างพอดี หรือปรับให้พอดีไม่ได้ แบบนี้ก็ถือว่าไม่ปลอดภัยพอ) แต่หากคุณพ่อแม่จะฝืนใช้ (เพราะซื้อมาแล้ว) หากเกิดเหตุไม่คาดคิด คาร์ซีทที่ไม่รองรับกับสรีระคนนั่งอย่างเหมาะสม อาจส่งผลกระทบที่รุนแรงได้ ซึ่งต้องบอกเลยว่าไม่คุ้มที่จะเสี่ยงแน่นอนค่ะ
ฉะนั้นแล้วการเลือกคาร์ซีทในข้อนี้นั้น ควรดูจากรายละเอียดต่อไปนี้
•    เด็กแรกเกิด ควรซื้อคาร์ซีทที่รองรับสำหรับเด็กแรกเกิดขึ้นไป
•    เด็กเล็ก ควรเลือกซื้อคาร์ซีทที่รองรับได้ตั้งแต่เด็กแรกเกิด ไปจนถึงเด็กเล็ก ขึ้นไป
•    เด็กโต ควรซื้อคาร์ซีทหรือบูสเตอร์ซีทที่ใช้กับเด็กโตขึ้นไป
ถ้าหากคุณพ่อแม่คิดว่าโอ๊ย… ทำไมมันซับซ้อนจังเลย มีง่ายๆ ให้จำมั้ย…
ถ้างั้นจำง่ายๆ เลยค่ะว่า “เลือกคาร์ซีทที่เหมาะสมกับอายุหรือน้ำหนักหรือส่วนสูงของคนนั่ง” เท่านี้ก็ได้เลยคร้า (แล้วค่อยไปดูรายละเอียดของคาร์ซีทแต่ละตัวอีกที)
*หมายเหตุ* คาร์ซีทบางรุ่น ก็สามารถใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงเด็กโต เวลาซื้อก็สามารถสอบถามคนขายได้เลยว่าใช้ได้ตั้งแต่กี่ขวบจนถึงกี่ขวบ

•    ดูที่ตัวคาร์ซีทว่าต้องการใช้แบบไหน


     แน่นอนว่าคาร์ซีทก็มีส่วนสำคัญไม่แพ้ข้ออื่นๆ เป็นอีกหนึ่งข้อที่ควรพิจารณาร่วมกันกับข้อ 1 และ2 เมื่อคุณพ่อแม่ต้องการซื้อคาร์ซีท 
แต่ในส่วนของข้อนี้จะมีความซับซ้อนขึ้นอีกเล็กน้อย เพราะคาร์ซีทนั้นมีหลากหลายแบบ เช่น คาร์ซีทแรกเกิด คาร์ซีทเด็กเล็ก คาร์ซีทหมุนได้ คาร์ซีทเด็กโต บูสเตอร์ซีท นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาเพิ่มเติมอีกว่าคาร์ซีทตัวนั้นๆ มีมาตรฐานหรือไม่ หรือติดตั้งระบบไหน เป็น isofixหรือเป็นแบบเบลท์ เป็นต้น ซึ่งหากคุณพ่อแม่ไม่เคยมีความรู้เรื่องคาร์ซีทแล้วล่ะก็ อาจจะปวดเศียรเวียนเกล้าได้เลยล่ะ แต่ไม่ต้องกังวลเพราะ Punnita เรียบเรียงสรุปมาให้เข้าใจง่ายๆ แล้ว ไปดูกันเล้ย….

การดูคาร์ซีท


อย่างที่ได้เกริ่นไปในเบื้องต้นว่าคาร์ซีทนั้นมีหลากหลายแบบ ทั้งนี้ก็เพื่อให้รองรับกับตัวสรีระของคนนั่งอย่างเหมาะสมนั่นเองค่ะ ซึ่งตามหลักมาตรฐานสากลคาร์ซีทนั้นจะมีแบ่งเป็นประเภทในแต่ละกลุ่มอยู่แล้ว แต่เพื่อให้คุณพ่อแม่เข้าใจง่ายๆ  Punnita จะสรุปให้ตามรูปแบบดังนี้ค่า
•    คาร์ซีทแรกเกิด เหมาะสำหรับอายุ 0+ ขึ้นไป หรือแรกเกิดถึงประมาณ 13 กก.
•    คาร์ซีทเด็กเล็ก เหมาะสำหรับอายุ 1 ปีขึ้นไป หรือน้ำหนักประมาณ 9-18 กก.
•    คาร์ซีทเด็กโต เหมาะสำหรับอายุ 3 ปีขึ้นไป หรือประมาณ 15-36 กก.

•    คาร์ซีทแรกเกิด


เป็นคาร์ซีทที่เหมาะสำหรับเด็กแรกเกิดขึ้นไป คาร์ซีทแบบนี้จะถูกออกแบบมาให้แข็งแรง ทนทาน มีซัพพอร์ตที่หนานุ่ม มีโครงสร้างที่ค่อนข้างโอบรับกับสรีระเด็ก ใช้เข็มขัดนิรภัยแบบ 5 จุด เพื่อเพิ่มความปลอดภัยอย่างสูงสุดให้กับตัวผู้นั่ง
คาร์ซีทแบบนี้ ส่วนใหญ่จะใช้ได้ตั้งแต่อายุ 0- 4 ขวบ หรือประมาณแรกเกิดถึง 13 กก. แต่ก็จะมีบางแบรนด์ที่สามารถใช้ได้ยาวนานกว่านั้น เช่น 0-7 ขวบ หรือแม้แต่ใช้ได้ยาวๆ 0-12 ขวบเลยก็มี ซึ่งคุณพ่อแม่ก็ต้องดูรายละเอียดส่วนนี้ในแต่ละแบรนด์เพิ่มเติมอีกที
คาร์ซีทสำหรับเด็กแรกเกิดนั้นก็จะมีหลากหลายแบบแยกย่อยออกไปอีก นั่นก็เพราะเกิดการแข่งขันจากตัวผู้ผลิตในแต่ละแบรนด์เองที่ต้องการให้คาร์ซีทของตนนั้นตอบโจทย์ผู้ใช้งานมากที่สุด จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นคาร์ซีทหลากหลายแบบแตกต่างกันออกไป แต่แน่นอนว่าผลประโยชน์ก็อยู่ที่ผู้บริโภคหรือคุณพ่อแม่นั่นเอง ที่จะได้รับของดีมีคุณภาพและตรงใจมากที่สุด แต่ไม่ว่าจะเป็นแบบไหน ถ้าเป็นคาร์ซีทที่ได้รับมาตรฐานสากลแล้วล่ะก็ ความปลอดภัยสูงสุดก็มีเท่าๆ กันค่ะ (ผู้ผลิตแต่ละรายอาจจะมีจุดขายที่แตกต่างกัน เช่น หมุนได้,หรือติดตั้งง่าย,หรือมีแสงไฟ เป็นต้น) เอาเป็นว่าเราไปดูกันว่าคาร์ซีทแรกเกิดนั้น มีแบบไหนกันบ้างค่า


คาร์ซีทหมุนได้ 360 องศา แบบมีขาค้ำยัน

เป็นคาร์ซีทที่ใช้งานสะดวกสบายที่สุด ซึ่งมีจุดเด่นและข้อดีหลักๆ ดังนี้
หมุนได้ 360 องศา โดยไม่มีสายเบลท์ต่างๆ มารั้ง ทำให้คาร์ซีทแบบนี้นั้นหมุนได้อย่างอิสระ โดยไม่มีข้อจำกัด
มีขาค้ำยัน ช่วยซัพพอร์ตพยุงรับแรงกระแทก ส่วนใหญ่คาร์ซีทแบบนี้จะมาพร้อมขาค้ำยัน เพื่อคอยรับและผ่อนแรงส่งจากแรงขับเคลื่อนของตัวรถ
เซ็ตอัพหรือติดตั้งแค่ครั้งเดียว ไม่ต้องคอยเซ็ตอัพหรือติดตั้งใหม่เมื่อเด็กโตขึ้น
ใช้งานง่าย และสะดวกสบาย เวลานำลูกเข้า-ออกจากคาร์ซีท ก็แค่หมุนไปในองศาที่คุณพ่อแม่สะดวก 
หากรถคุณพ่อแม่ค่อนข้างสูง เข้าออกหรือขึ้นลงยาก แนะนำควรใช้คาร์ซีทแบบนี้นะคะ ไม่งั้นกว่าจะนำลูกเข้าออกหรือใส่เบลท์ให้ลูก ลำบากแย่เลยค่ะ แล้วยิ่งวันไหน อากาศร้อน ลูกงอแง ออกไปทำธุระข้างนอก หากคาร์ซีทที่ใช้อยู่เป็นแบบหมุนไม่ได้แล้วล่ะก็ กว่าเราจะขึ้นรถ กว่าจะติดเบลท์ให้ลูก แล้วไหนลูกจะงอแง บอกเลยว่าวุ่นวายมาก! T^T ฉะนั้นแล้วคาร์ซีทหมุนได้ ช่วยให้ชีวิตง่ายขึ้นเยอะเลยค่ะ (จากประสบการณ์จริงคุณแม่ค่ะ)

*ทริคเล็กๆน้อยๆ หากเป็นไปได้เมื่อคุณพ่อแม่ไปเลือกซื้อคาร์ซีท ควรนำลูกไปด้วย เพื่อจะได้ทดลองให้ลูกนั่งแล้วพิจารณาดูว่าลูกนั่งแล้วเป็นยังไง นั่งสบายมั้ย อึดอัดหรือเปล่า ที่สำคัญคือคุณพ่อแม่ต้องดูช่วงคอของลูก หากนั่งแล้วลูกคอพับ หน้าอกยุบ อาจทำให้ลูกหายใจไม่สะดวกและอึดอัด ฉะนั้นแล้วหากพาลูกไปทดลองนั่งคาร์ซีทด้วยเลยดีที่สุด จะได้เลือกคาร์ซีทได้อย่างตรงใจที่สุดค่า

คาร์ซีทหมุนได้ 360 องศา แบบใช้สาย Top tether (สายสมอ)

เป็นคาร์ซีทที่มีจุดเด่นคล้ายกับข้อด้านบน แต่จะแตกต่างกันแค่ในบางจุด หลักๆ ที่เห็นได้ชัดคือจะไม่มีขาค้ำยัน แต่จะเป็นสาย Top tether หรือสายสมออยู่บริเวณด้านบนพนักพิงของคาร์ซีท การใช้งานสายสมอนี้ก็โดยการโยงสายไปด้านหลังเบาะนั่งแล้วใช้สมอเกี่ยวกับตะขอเหล็กด้านหลังเบาะไว้ (ตรงนี้คุณพ่อแม่ต้องดูให้ดี ตะขอด้านหลังรถอาจจะไม่ได้มีทุกคัน) ซึ่งสายนี้จะทำหน้าที่ช่วยดึงตัวของคาร์ซีทให้แน่นยิ่งขึ้น และป้องกันไม่ให้พลิกคว่ำหรือกระดก (เพิ่มความปลอดภัยมากกว่ารุ่นเดียวกันที่ไม่มีสายสมอ)  คาร์ซีทแบบนี้ยังคงใช้งานสะดวก เพราะหมุนได้ 360 องศา แต่บางรุ่นอาจจะหมุนได้ไม่อิสระ เพราะมีสายสมอมารั้ง เวลาจะหมุนก็ต้องหมุนเข้าหาฝั่งใกล้ตัว หรือไม่ก็ต้องคลายสายสมอ เพื่อให้หมุนได้ง่าย ค่อนข้างมีข้อจำกัดด้านการหมุนอยู่บ้าง
ยังไงก็ตาม หากคุณพ่อแม่มีรถที่ค่อนข้างสูง คาร์ซีทหมุนได้ ยังคงเป็นตัวที่ใช้งานได้สะดวกที่สุดค่ะ

คาร์ซีทแบบหมุนไม่ได้

ถ้าจะนับด้านความสะดวกสบาย อาจจะไม่เท่ากับคาร์ซีทแบบหมุนได้ แต่ถ้าเป็นด้านความปลอดภัยนั้นไม่แพ้กันแน่นอนค่ะ
คาร์ซีทแบบหมุนไม่ได้นั้น ในการติดตั้งและใช้งานเมื่อเด็กโตขึ้นเราจะต้องมาเซ็ตการติดตั้งใหม่ กล่าวคือ เมื่อเด็กแรกเกิดจนถึง 2 ขวบ ตามมาตรฐานสากล การติดตั้งคาร์ซีทต้องเป็นแบบ Rear – Facing หรือติดตั้งแบบหันหน้าเข้าหาท้ายรถ (ให้เด็กหันหลังไปฝั่งคนขับ) 
และเมื่อเด็กโตขึ้นตั้งแต่ 2 ขวบขึ้นไป จะต้องติดตั้งคาร์ซีทแบบ Forward – Facing หรือติดตั้งแบบหันหน้าไปหน้ารถ (นั่งหันหน้าไปทางเดียวเหมือนคนขับ)
ซึ่งในส่วนนี้ แม้เมื่อเด็กโตขึ้นเราจะต้องถอดคาร์ซีทเพื่อมาติดตั้งใหม่อีกแค่ครั้งเดียวก็ตาม แต่คุณพ่อแม่บางท่านหากไม่มีความรู้เรื่องการติดตั้งคาร์ซีท ก็อาจจะยุ่งยากพอสมควร (แต่ถ้าเป็นคาร์ซีทแบบหมุนได้ คุณพ่อแม่ติดตั้งแค่ครั้งเดียว เวลาจะหันหน้าเข้าหรือออก เราก็แค่หมุนคาร์ซีท) 
นอกเหนือจากรูปแบบการหมุนแล้ว คุณพ่อแม่ก็ต้อพิจารณาด้านอื่นๆ ประกอบการตัดสินใจ เช่น ตัววัสดุ ความแข็งแรง ซัพพอร์ตผ้าต่างๆ เป็นต้น
ฉะนั้นจึงอยู่ที่คุณพ่อแม่ว่าพอใจกับตัวคาร์ซีทรูปแบบไหน ถือเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจค่า  

คาร์ซีทแบบกระเช้า

คาร์ซีทแบบกระเช้านั้น สามารถใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิดถึงประมาณ 15 เดือน หรือน้ำหนักประมาณ 16 กก. ซึ่งคาร์ซีทแบบกระเช้านี้จะค่อนข้างสะดวกเพราะคุณพ่อสามารถรับลูกจากโรงพยาบาลตั้งแต่วันคลอดได้เลย สามารถวางลูกบนกระเช้า แล้วหิ้ว (กระเช้า) เพื่อนำไปติดตั้งเป็นคาร์ซีทบนรถได้เลย ถึงที่หมายก็สามารถปลดการติดตั้งคาร์ซีทแล้วหิ้วกระเช้าได้เลย โดยที่เขายังหลับอยู่ ซึ่งจะลดการรบกวนลูกน้อย ไม่ให้คอยหลับๆ ตื่นๆ อีกทั้งยังลดความเสี่ยงจากการอุ้มเจ้าตัวเล็กอีกด้วย แต่ทั้งนี้คาร์ซีทแบบกระเช้านั้นก็ค่อนข้างมีข้อจำกัด กล่าวคือจะใช้ได้แค่ช่วงอายุระดับหนึ่งเท่านั้น เมื่อลูกโตขึ้น คุณพ่อแม่อาจจะต้องหาคาร์ซีทใหม่ที่เหมาะสมกับตัวของลูก อีกทั้งเมื่อลูกโตขึ้น น้ำหนักของลูกบวกกับน้ำหนักของกระเช้าอาจทำให้คุณพ่อที่หิ้วบ่อยๆ เมื่อยหรือล้าได้ แล้วยิ่งเป็นคุณแม่แล้วล่ะก็ ไม่ไหวแน่นอนค้า…  
ฉะนั้นแล้วหากคุณพ่อแม่พอจะมีงบประมาณ ช่วงแรกเกิดใช้คาร์ซีทกระเช้าแล้วเมื่อเขาโตขึ้นค่อยซื้อคาร์ซีทใหม่ก็ถือว่าสะดวกค่ะ
แต่หากอยากประหยัดงบ ก็เลือกซื้อคาร์ซีทแบบแรกเกิดทีเดียวไปเลย ก็ถือว่าช่วยประหยัดได้เยอะเลยนะคะ
 

•    คาร์ซีทเด็กเล็ก

คาร์ซีทเด็กเล็กนั้นจะไม่ยุ่งยากและซับซ้อนเหมือนคาร์ซีทของเด็กแรกเกิด 
ส่วนใหญ่คาร์ซีทแบบนี้จะรองรับเด็กตั้งแต่ 1-4 ปี หรือประมาณ 9-18 กก. แต่ก็จะมีบางแบรนด์ที่สามารถใช้ได้ยาวนานกว่านี้ ซึ่งคุณพ่อแม่ก็ต้องดูรายละเอียดส่วนนี้ในแต่ละแบรนด์เพิ่มเติมอีกที
ในส่วนของการติดตั้งและใช้งานนั้นสามารถติดตั้งได้แบบ Forward – Facing (หันหน้าไปฝั่งหน้ารถ) ซึ่งทั้งนี้ในส่วนนี้ต้องพิจารณาดูจากอายุและน้ำหนักของตัวคนนั่งอีกที

ในส่วนการปรับเอนนอนนั้น อาจจะปรับเอนนอนได้ไม่มากเท่ากับคาร์ซีทเด็กเล็ก 
ในส่วนเข็มขัดนิรภัยนั้นยังคงใช้แบบ 5 จุด (เป็นเบลท์ที่ติดมากับคาร์ซีทอยู่แล้ว) ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของคนนั่ง
นอกเหนือจากนี้คุณพ่อแม่อาจพิจารณาคาร์ซีทเป็นตัวๆ ไป ด้วยตัวเอง เช่น คาร์ซีทนี้ปรับพนักพิงเอนนอนได้มั้ย ปรับความสูงเมื่อเด็กโตขึ้นได้หรือเปล่า มีมาตรฐานหรือไม่ ทั้งนี้ทั้งนั้นสามารถสอบถามข้อมูลของคาร์ซีทจากคนขายได้เลย

•    คาร์ซีทเด็กโต

สำหรับคาร์ซีทเด็กโต ส่วนใหญ่จะสามารถใช้ได้ตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป หรือน้ำหนักประมาณ 15-36 กก. (หรืออาจจะมากหรือน้อยกว่านี้ ขึ้นอยู่ผลิตภัณฑ์ของแต่ละแบรนด์) ในการใช้งานนั้นจะติดตั้งแบบ Forward – Facing (หันหน้าไปฝั่งหน้ารถ หรือหันไปฝั่งเดียวกับคนขับ)  
ซึ่งถ้าดูจากรูปลักษณ์ภายนอกระหว่างคาร์ซีทเด็กแรกเกิดและเด็กโตจะเห็นข้อแตกต่างอย่างชัดเจน คาร์ซีทเด็กโตนั้นจะมีขนาดที่ใหญ่กว่า สูงกว่า กว้างกว่า และก็ยังมีน้ำหนักที่เบากว่าอีกด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อรองรับกับสรีระที่เหมาะสมกับช่วงวัยนั่นเอง 
ในส่วนของเข็มขัดนิรภัยนั้นจะใช้เข็มขัดนิรภัยแบบ 3 จุดที่ติดมากับรถยนต์ โดยคาดเบลท์เหมือนผู้ใหญ่ได้เลย เพียงแค่การคาดเบลท์นั้นให้คาดเบลท์ผ่านจุดที่คาร์ซีททำไว้ซัพพอร์ตเพื่อให้รองรับกับสรีระเด็ก เพื่อป้องกันไม่ให้สายเบลท์บาดผิวตัวผู้นั่ง
การเลือกคาร์ซีทสำหรับเด็กโต จึงค่อนข้างง่ายกว่าคาร์ซีทแบบอื่นๆ หลักๆ เลยคุณพ่อแม่สามารถพิจารณาดังนี้
การติดตั้ง  ลองดูว่าคาร์ซีทติดตั้งแบบไหน isofixหรือแบบเบลท์ (ข้อนี้ต้องดูที่รถเราอีกทีว่ามี isofixหรือไม่)
ดูจากมาตรฐาน หากคาร์ซีทใดไม่มีมาตรฐาน คุณพ่อแม่ก็มองข้ามไปก่อนได้เลย เพื่อความปลอดภัยของลูก (ดูรายละเอียดในส่วนการดูมาตรฐานด้านล่างบทความ)
และพิจารณาดูจากส่วนอื่นๆ เช่น โครงสร้างแข็งแรง เนื้อผ้านุ่ม ไม่ร้อน ลูกนั่งสบาย ไม่อึดอัด เป็นต้น
นอกจากนี้ ในส่วนคาร์ซีทเด็กโต เรายังมีอีก 1 แบบ ที่เรียกว่า บูสเตอร์ซีท

บูสเตอร์ซีท 

เป็นเบาะนั่งเสริม คล้ายๆ กับคาร์ซีทเลย แต่จะไม่มีในส่วนของพนักพิงด้านหลัง ซึ่งใช้กับเด็กที่โตเกินกว่าจะใช้แบบเบลท์แบบ 5 จุด แต่ยังไม่สามารถใช้เบลท์ของรถยนต์ได้พอดีเพราะความสูงของเด็กยังไม่พอ  จึงต้องมีเบาะเสริมที่นั่งเพื่อให้สูงพอที่จะใช้เข็มขัดรถได้พอดี เราจึงเรียกว่า บูสเตอร์ นั่นเอง
ซึ่งการจะดูว่าเราต้องใช้คาร์ซีทเด็กโต หรือใช้บูสเตอร์ซีท คุณพ่อแม่ก็ต้องพิจารณาดูตามอายุ,น้ำหนัก,และส่วนสูงของลูกอีกทีนะคะ
ทั้งนี้แนะนำคุณพ่อแม่ลองดูสัก 2-3 แบรนด์ เพื่อเปรียบเทียบกันในทุกๆ ด้าน แล้วเลือกรุ่นที่เราชอบที่สุดค่า

เป็นไงกันบ้างคะในส่วนของการเลือกคาร์ซีท น่าจะพอเลือกคาร์ซีทที่เหมาะกับรถและลูกของเราได้แล้ว
แต่อย่าเพิ่งเบื่อค่ะ เพราะมันยังไม่ได้จบแค่นั้น ยังมีอีก 2 อย่าง ในการเลือกคาร์ซีท ที่เราจำเป็นต้องรู้ เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของลูกนะคะ นั่นก็คือเรื่อง มาตรฐานของคาร์ซีท และเรื่องของ isofix นั่นเองค่ะ 

เรามาเริ่มกันที่วิธีดูมาตรฐานของคาร์ซีทกันก่อนเลยนะคะ

มาตรฐานของคาร์ซีท

ปัจจุบันที่เห็นได้ชัดเจนในส่วนของคาร์ซีทหลากหลายแบรนด์ ที่จำหน่ายกันในท้องตลาดบ้านเรา หลักๆ มีมาตรฐาน 3 แบบ คือ

1. มาตรฐาน FMVSS (Federal Motor Vehicle Safety Standard 213 Child Restraint Systems)  เป็นมาตรฐานประเทศสหรัฐอเมริกา

2. มาตรฐาน ECE R44/04 (Economic Commission for Europe) เป็นมาตรฐานของสหภาพยุโรป

3. มาตรฐาน ECE R129 (i-Size) เป็นมาตรฐานใหม่ล่าสุดของคาร์ซีทกับมาตรฐานความปลอดภัยของทางสหภาพยุโรป

ซึ่งเมื่อคุณพ่อแม่เลือกคาร์ซีท อย่าลืมดูมาตรฐานเหล่านี้ประกอบด้วยนะคะ (มาตรฐานใดก็ได้ใน 3 ข้อนี้) 
เพื่อเป็นข้อมูลคร่าวๆ ว่าทำไมคาร์ซีทต้องมีมาตรฐาน นั่นก็เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของตัวผู้นั่งนั่นเอง ซึ่งมีข้อกำหนดด้านมาตรฐานความปลอดภัย ผู้ผลิตคาร์ซีทนำผลิตภัณฑ์ของตนเข้ารับการทดสอบว่ามีความแข็งแรง ปลอดภัยและสามารถปกป้องคนนั่งในกรณีที่เกิดการปะทะกันได้หรือไม่,แค่ไหน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าคาร์ซีทถูกออกแบบมาให้มีความปลอดภัยอย่างแท้จริง
ซึ่งแน่นอนว่าหากคาร์ซีทของผู้ผลิตใดไม่ผ่านการทดสอบ ก็จะไม่สามารถได้รับมาตรฐานนี้ (ในส่วนขั้นตอนการทดสอบ ขอไม่กล่าวถึงเนื่องจากมีรายละเอียดค่อนข้างเยอะ)
เอาเป็นว่าหากต้องเลือกคาร์ซีท ต้องเลือกที่ผ่านมาตรฐานเท่านั้นนะคะ
แถมเป็นข้อมูลอีกนิดสำหรับมาตรฐานข้อ 2 และข้อ 3 ซึ่งจะมีข้อแตกต่างกัน (รายละเอียดค่อนข้างเยอะ) แต่คร่าวๆ ที่เราควรรู้คือมาตรฐาน ECE R129 (i-Size) นั้น เป็นมาตรฐานล่าสุด โดยเพิ่มการทดสอบการชนด้านข้างเข้ามา หรือที่เรารู้จักกันในคำว่า i-Size นั่นเอง 
ส่วนมาตรฐาน ECE R44/04 นั้นจะไม่ได้ทดสอบการชนด้านข้าง (แต่ก็มีบ้างบางแบรนด์ที่เป็นมาตรฐาน ECE R44/04 แต่มีการนำคาร์ซีททดสอบ i-Size ถ้ายังไงคุณพ่อแม่สามารถสอบถามพนักงานขายเพิ่มเติมได้เลยค้า)  และคาร์ซีทที่มี i-Size นั้น การติดตั้งต้องเป็นแบบ isofixเท่านั้นนะคะ
 

i-sofix

เอาล่ะค่ะ ได้รู้เรื่องมาตรฐานของคาร์ซีทกันไปแล้ว เรามาถึงข้อสุดท้ายที่เราต้องรู้เมื่อซื้อคาร์ซีท นั่นก็คือ “ isofix “
แต่ก่อนที่จะไปดูว่า isofix นั้นดูแบบไหน เราไปทำความเข้าใจก่อนว่า isofix คืออะไร และทำไมต้องมี isofix
Isofix คือระบบการติดตั้งคาร์ซีทมาตรฐานสากล ซึ่งได้รับการยืนยันถึงความปลอดภัยระดับสูงสุด 
ติดตั้งได้ง่าย สะดวกและรวดเร็ว โดยไม่ต้องใช้สายเบลท์จากรถยนต์ในการติดตั้ง 
Isofix จึงเป็นการติดตั้งที่ง่ายสะดวกรวดเร็วและแม่นยำกว่าการติดตั้งแบบเบลท์

ต่อไปเรามาดูกันบ้างว่า isofix  ดูยังไง เป็นแบบไหน
แน่นอนว่าเมื่อต้องซื้อคาร์ซีท พนักงานจะถามว่า รถมี isofix หรือเปล่า นั่นก็เพราะหากพนักงานไม่ถาม หรือคุณพ่อแม่อาจจะไม่ทราบเรื่อง isofix  แล้วซื้อคาร์ซีทที่ติดตั้งแบบ isofix ไป พอจะติดตั้งกลับใช้ไม่ได้ เพราะรถไม่มี isofix  ถ้าเจอเคสแบบนี้ยุ่งยากแน่นอนค่ะ เพราะบางร้านอาจจะไม่ให้เปลี่ยนเพราะซื้อไปแล้ว (แต่ที่ Punnita ไม่มีปัญหานี้แน่นอนค้า เพราะเราใส่ใจ และให้ความรู้คุณพ่อแม่อย่างเต็มที่ค้า)
isofix นั้นจะต้องมีทั้ง 2 จุดเพื่อใช้ควบคู่กัน (เหมือนกุญแจกับลูกกุญแจ) นั่นก็คือ

  • isofix ที่อยู่ในรถยนต์
  • isofix ที่อยู่ในคาร์ซีท
     

isofix ที่อยู่ในรถยนต์ จะเป็นเหล็กรูปทรงงอๆ คล้ายๆ ตัว U อยู่บริเวณฝั่งซ้ายและขวาระหว่างจุดเชื่อมเบาะนั่งกับพนักพิง และต้องมี 2 จุดในเบาะนั่งเดียว คือฝั่งซ้ายและขวา คู่กัน ซึ่งจะมีที่เบาะหลังทั้ง 2 เบาะเลย (โดยปกติแล้วเบาะนั่งด้านหน้าข้างคนขับจะไม่มี isofix)  ซึ่งรถยุโรปตั้งแต่ปี 2004 และรถญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 2014 เป็นต้นมานั้น โดยมากถูกติดตั้งระบบ isofixไว้ให้แล้ว

isofixในรถยนต์ ดูยังไง ดูตรงไหน
รถยนต์รุ่นเก่า
ถ้าเป็นรถยนต์รุ่นเก่า เวลาจะดูว่ามี isofixอยู่หรือเปล่า คุณพ่อแม่อาจจะต้องใช้มือลองล้วงเข้าไปในตำแหน่งบริเวณระหว่างจุดเชื่อมเบาะนั่งกับพนักพิง ลักษณะ isofixจะเป็นตะขอเหล็กคล้ายๆ ตัว U จะอยู่ตรงตำแหน่งเดียวกันทั้งซ้ายและขวา (ดูรูปภาพด้านบนประกอบ) หรือสังเกตุว่ามีสัญลักษณ์ isofix ตรงตำแหน่งดังกล่าวหรือไม่ (บางคันมี isofixแต่ไม่มีสัญลักษณ์บ่งบอก)
 

รถยนต์รุ่นใหม่
ปัจจุบันนั้นรถยุโรปตั้งแต่ปี 2004 และรถญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 2014 แทบจะทั้งหมดถูกติดตั้งระบบ isofix มาให้แล้ว และการจะดูว่ารถมี isofix หรือเปล่านั้นง่ายกว่าเยอะ เพราะตรงบริเวณที่มี isofix นั้น จะมีสัญลักษณ์ isofix ระบุไว้ให้เห็นอย่างชัดเจนเลย แต่บางคันก็อาจจะไม่มีสัญลักษณ์นี้ ฉะนั้นแล้วลองล้วงดูตำแหน่งบริเวณระหว่างจุดเชื่อมเบาะนั่งกับพนักพิงเพื่อเช็คอีกทีเพื่อความมั่นใจ แต่หากเจอสัญลักษณ์ isofix อยู่บนเบาะนั่งแล้วล่ะก็คุณพ่อแม่ก็มั่นใจได้เลยว่ารถมี isofix แน่นอน โดยไม่ต้องเสียเวลาล้วงดูก็ได้ค่า
 

เมื่อเรารู้จัก isofixในรถยนต์กันแล้ว ต่อมาเรามาทำความรู้จัก isofixในคาร์ซีทกันบ้าง

Isofix ที่อยู่ในคาร์ซีท ลักษณะจะเป็นแท่งเหล็กยาวๆ ตรงๆ ซึ่งตรงปลายของ isofix จะมีเขี้ยวสำหรับล็อคหรือยึดกับตะขอ isofix ที่อยู่ในรถยนต์ ทำหน้าที่ยึดหรือล็อคคาร์ซีทไว้กับรถยนต์นั่นเอง
Isofix ในคาร์ซีทนั้น จะมีแยกย่อยไปอีก 2 แบบ คือ
Isofix แบบแท่งเหล็กที่เป็นก้านยาวๆ 
Isofix แบบ Latch (ปลาย Latch จะเป็นแท่งเหล็ก แต่ตัวเชื่อม isofix จะเป็นผ้า)>
(isofix ทั้งสองแบบนี้ แบบที่เป็นเหล็กก้านยาวๆ จะแข็งแรงกว่า)

ซึ่งการใช้งาน isofix ทั้งแบบแท่งและแบบ Latch นั้นเหมือนกัน แต่จะแตกต่างกันในแง่ของการติดตั้ง กล่าวคือ ถ้าเป็นรถยุโรปมักจะทำตะขอเหล็ก isofix ยื่นไว้ชัดเจน ติดตั้งง่าย ดังนั้นจะเลือก isofix แบบไหนก็ได้ไม่มีปัญหา  ส่วนรถญี่ปุ่นบางยี่ห้อหรือบางรุ่น จะทำ isofix ค่อนข้างลึกและจมเข้าไปด้านหลังค่อนข้างเยอะ ซึ่งเคสประมาณนี้หากใช้ isofix แบบแท่ง อาจจะติดตั้งค่อนข้างยาก แต่หากเป็น isofix แบบ Latch นั้นจะสะดวกกว่า เพราะมีความยืดหยุ่นในการติดตั้งมากกว่า 
แต่ทั้งนี้เคสประมาณนี้ก็สามารถใช้ isofix แบบแท่งได้เช่นเดียวกัน โดยการใช้ตัวนำร่อง isofix ( ลักษณะจะเป็นพลาสติกทรงสี่เหลี่ยม มีช่องว่างตรงกลาง  สำหรับใส่เข้าไปใน isofix ในรถ เพื่อให้ติดตั้งคาร์ซีทได้ง่ายขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ผลิตคาร์ซีทจะแถมมาให้กับตัวคาร์ซีทด้วย แต่ไม่ได้มีทุกแบรนด์) ฉะนั้นแล้วไม่มีผิดไม่มีถูก หากรถเรามี isofixจะใช้แบบไหนก็ได้ค่า

เอาล่ะค่า เชื่อว่าคุณพ่อแม่ที่อ่านมาถึงตรงนี้จะต้องได้รับความรู้บ้าง ไม่มากก็น้อย ลองใช้ข้อมูลนี้ประกอบการตัดสินใจเมื่อต้องซื้อคาร์ซีทกันได้นะคะ
สุดท้ายนี้ Punnita ฝากเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ รวมถึงคำถามที่คุณพ่อแม่ถามเข้ามาบ่อยๆ เผื่อจะได้ข้อมูลกันมากยิ่งขึ้นค่า

คำถามที่พบบ่อย

Q: ควรติดตั้งคาร์ซีทตำแหน่งไหน

A : เบาะหลังดีที่สุด ซ้าย-ขวาก็ได้ แต่หากตำแหน่งคาร์ซีทไม่เกะกะคนขับรถ แนะนำให้ติดตำแหน่งเบาะด้านหลังคนขับ เพราะสัญชาตญาณคนขับจะหักหลบอุบัติเหตุอัตโนมัติ แต่หากตำแหน่งคาร์ซีทเกะกะคนขับ การติดเบาะหลังฝั่งเยื้องๆ คนขับก็จะดีกว่า แต่เหนือสิ่งอื่นใด ไม่ควรติดคาร์ซีทที่เบาะหน้าข้างคนขับ เพราะหากเกิดอุบัติเหตุ การทำงานของแอร์แบ็ค อาจทำให้เด็กขาดอากาศหายใจได้

Q: ควรติดตั้งคาร์ซีทให้ลูกหันหน้าเข้าหรือหันหน้าออกตอนอายุเท่าไร

A : มาตรฐานสากล การติดตั้งคาร์ซีทสำหรับเด็กแรกเกิดจนถึง 2 ขวบ กำหนดให้ติดแบบ Rear – Facing (หันหน้าเข้าหาท้ายรถ) เมื่อเด็กอายุ 2 ขวบขึ้นไป จึงจะสามารถติดตั้งแบบ Forward – Facing (หันหน้าออกไปด้านหน้ารถ) ได้

Q:  คาร์ซีทหมุนได้กับคาร์ซีทหมุนไม่ได้ แบบไหนดีกว่ากัน


Posted

in

บทความน่าอ่าน

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *