รีวิวแนะนำ pantip สิ่งที่คุณต้องรู้ก่อนตัดสินใจซื้อจักรยานไฟฟ้าในปี 2023

ซื้อจักรยานไฟฟ้าแบบไหนถึงจะคุ้ม

บทความที่น่าสนใจ

จักรยานไฟฟ้า

          ในยุคที่โลกกำลังใส่ใจกับ Green Energy ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่สร้างมลพิษในอากาศ ช่วยลดภาวะโลกร้อน จักรยานไฟฟ้าจึงได้กลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของพาหนะการเดินทาง ในระยะที่ไม่ใกล้ไม่ไกลมากจนเกินไป เช่น ไปซื้อของหน้าหมู่บ้าน ขับขี่รถเล่นในสวน ไปท่องเที่ยวพักผ่อน รวมไปถึงขับขี่ไปทำงาน จักรยานไฟฟ้าเป็นเทรนด์ของคนรุ่นใหม่ กลุ่มวัยทำงานที่ชอบการเดินทางที่สะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลา และประหยัดค่าใช้จ่าย หากดูจากแนวโน้มการใช้งานจักรยานไฟฟ้าทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยก็มีสถิติการใช้งานที่สูงขึ้นมาก ไม่ว่าจะเป็นจักรยานไฟฟ้าพับได้ จักรยานไฟฟ้า 3 ล้อ ที่ตอบโจทย์การใช้งานกลุ่มผู้สูงอายุ ปัจจุบันนวัตกรรมในการผลิต ก็ได้มีการพัฒนาขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก มีเทคโนโลยีด้านความปลอดภัย และฟังก์ชันพิเศษออกมารองรับการใช้งานมากมาย วันนี้เราจะพาไปรู้จักกับคุณสมบัติ ข้อดีข้อเสียต่าง ๆ ในสิ่งที่คุณต้องรู้ก่อนตัดสินใจซื้อจักรยานไฟฟ้าในปี 2023

จักรยานไฟฟ้า คืออะไร

          จักรยานไฟฟ้า (Electric Bicycle) หรือ E-Bike ก็ คือจักรยานทั่วไป เพียงแต่เพิ่มมอเตอร์ไฟฟ้า มาพร้อมกับแบตเตอรี่ และชุดควบคุม เพื่อเข้ามาเป็นตัวช่วยเพิ่มความเร็วในการขับเคลื่อน ทำให้ผู้ใช้งานขับขี่ได้อัตโนมัติโดยไม่ต้องออกแรงปั่นเองให้เหนื่อย หรือจะสลับใช้งาน กลับมาใช้ขาปั่นเหมือนจักรยานธรรมดาแบบทั่ว ๆ ไปก็ได้ มอเตอร์จักรยานไฟฟ้าที่ได้รับความนิยมใช้งาน แบ่งออกเป็น 2 ชนิดด้วยกัน คือ 

  • มอเตอร์แบบขับกลาง (Mid Drive) มอเตอร์แบบขับกลาง เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการจักรยานไฟฟ้าที่มีความเร็ว โดยมอเตอร์จะถูกติดตั้งไว้ตรงบริเวณฟันเฟือง เชื่อมต่อกับสายพานและโซ่ เพื่อเป็นตัวส่งแรงไปยังส่วนล้อในการขับเคลื่อน มอเตอร์ประเภทนี้จะมีแรงค่อนข้างสูง
  • ฮับมอเตอร์ (Hub Motor) มอเตอร์จะถูกติดตั้งอยู่ที่ดุมล้อของจักรยาน อาจจะเป็นล้อหน้าหรือล้อหลัง ความเร็วของจักรยานจะขึ้นอยู่กับพลังงานไฟฟ้าที่ส่งผ่านมอเตอร์ การติดตั้งฮับมอเตอร์ที่ล้อหน้า จะควบคุมการทรงตัวได้ดีกว่า ระบบเบรคจะมีความปลอดภัยมากกว่า ส่วนการติดตั้งฮับมอเตอร์ที่ล้อหลัง รถจักรยานจะมีแรงส่งมากกว่า ในการใช้งานกับพื้นที่ชันหรือลาดเอียง

กฎหมาย และการจดทะเบียนจักรยานไฟฟ้า

          ประเทศไทยไม่มีกฎหมายสำหรับให้รถจักรยานสามารถวิ่งบนท้องถนนได้ จึงเท่ากับว่าแม้จะเป็นรถจักรยานไฟฟ้า ก็ไม่สามารถจดทะเบียน และนำมาวิ่งใช้งานบนถนนได้นั่นเอง แต่ในทางปฏิบัติจริง ๆ จักรยานสามารถนำมาขับขี่บนถนนสาธารณะได้ โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจจะไม่จับ หากพิจารณาแล้วว่าขับขี่ด้วยความปลอดภัยและไม่ก่อให้เกิดอันตราย

ส่วนผู้ที่ขับขี่จักรยานจะต้องมีใบขับขี่หรือไม่นั้น ตอบได้เช่นกันว่าขณะนี้ยังไม่มีกฎหมาย หรือข้อกำหนดให้ต้องทำใบขับขี่ ซึ่งก็เท่ากับว่าทุกคนสามารถขี่จักรยานได้โดยไม่ผิดกฎหมาย แต่ต้องปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด เพื่อเป็นการลดและป้องกันอุบัติเหตุ ที่อาจเกิดขึ้นทั้งกับผู้ขับขี่เอง และผู้อื่นที่สัญจรไปมาบนท้องถนน เพราะถึงอย่างไรก็ยังสามารถถูกจับหรือถูกปรับได้ หากทำผิดกฎหมายจราจร เช่น ขับขี่ย้อนศร ขับขี่บนฟุตบาท ฯลฯ

เทคนิคการเลือกจักรยานไฟฟ้าให้ตอบโจทย์การใช้งาน

          ปัจจุบันจักรยานไฟฟ้า ผลิตออกมาให้เลือกใช้งานหลายยี่ห้อหลายรุ่น ให้เราได้เลือกใช้ให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ ไม่ว่าจะเป็นสมรรถนะในเรื่องความแรง ความเร็ว รูปทรง การออกแบบดีไซน์ และฟังก์ชันต่าง ๆ เช่น จักรยานไฟฟ้าพับได้ จักรยานไฟฟ้า 2 ระบบ จักรยานไฟฟ้าล้อเดียว จักรยานไฟฟ้า 3 ล้อ ฯลฯ แต่สุดท้ายการเลือกให้ตรงกับการใช้งานมากที่สุดจริง ๆ ก็จะช่วยตอบโจทย์ความคุ้มค่าได้มากที่สุดนั่นเอง มาดูเทคนิคการเลือกในเบื้องต้นกันว่าต้องดูจากคุณสมบัติอะไรบ้าง

เลือกจากขนาดมอเตอร์ไฟฟ้า

          ปัจจัยแรกในการเลือกซื้อจักรยานไฟฟ้าของหลาย ๆ คน น่าจะเริ่มพิจารณาจากความเร็ว หรือความแรงที่สัมพันธ์กับการใช้งาน ซึ่งนั่นก็คือขนาด หรือกำลังของมอเตอร์ไฟฟ้าที่ทำให้ตัวรถขับเคลื่อนไปได้ โดยทั่ว ๆ ไปจักรยานไฟฟ้าจะมีกำลังมอเตอร์ตั้งแต่ 150 – 400 วัตต์ (W) หากกำลังมอเตอร์สูงกว่าก็จะสามารถทำความเร็วได้สูงกว่าเช่นกัน แต่ความเร็วของจักรยานที่ใช้ไฟฟ้าก็ขึ้นอยู่กับขนาดของรถ และน้ำหนักตัวของผู้ใช้ด้วย รถที่วางจำหน่ายในท้องตลาด ส่วนใหญ่จะวิ่งได้ความเร็วประมาณ 25 – 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (km/h) 

เลือกจากความจุของแบตเตอรี่

          เมื่อเลือกกำลังมอเตอร์ไฟฟ้าได้แล้ว ก็ต้องมาดูเรื่องแบตเตอรี่ต่อเนื่องกัน เพราะขนาดของแบตเตอรี่จะเป็นตัวบอกว่า จักรยานไฟฟ้ารุ่นนั้น ๆ สามารถวิ่งไปได้ไกลมากแค่ไหน ต่อการชาร์จแบต 1 ครั้ง ซึ่งแบตเตอรี่แต่ละยี่ห้อแต่ละรุ่น มีขนาดและความจุแตกต่างกัน ส่งผลต่อระยะทางไม่เท่ากัน แต่โดยเฉลี่ยทั่วไปแล้วจะสามารถวิ่งได้ระยะทางประมาณ 40-70 กิโลเมตร ต่อการชาร์จแบตเตอรี่ 1 ครั้ง

เลือกจากวัสดุโครงสร้าง

          วัสดุโครงสร้าง หรือเฟรมของตัวรถจักรยาน ก็เป็นปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเร็วความแรงเช่นเดียวกัน ทั่วไปแล้วเฟรมจักรยานจะผลิตจากวัสดุหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นเหล็ก หรืออะลูมิเนียม เพราะเป็นวัสดุที่มีความแข็งแรงทนทาน สามารถรองรับน้ำหนักได้ดีกว่าวัสดุประเภทอื่น ซึ่งรวมไปถึงการออกแบบดีไซน์การใช้งาน เช่น จักรยานไฟฟ้าแบบ 2 ที่นั่ง โครงสร้างจะแข็งแรงกว่า รองรับน้ำหนักได้มากกว่า แต่ก็แลกมาด้วยน้ำหนักตัวรถจักรยานที่มากกว่าด้วยนั่นเอง

เลือกจากฟังก์ชันการใช้งาน

          แน่นอนว่าการเลือกจักรยานไฟฟ้ามาใช้งานสักคัน ก็เพื่อที่จะตอบโจทย์ในเรื่องความสะดวกสบาย ฟังก์ชันต่าง ๆ ของจักรยาน จึงมีส่วนในการตัดสินใจเลือกใช้งานด้วย เช่น บางรุ่นมีฟังก์ชันถอดแบตเตอรี่ออกไปชาร์จได้ อาจจะสะดวกกว่ารุ่นที่ถอดไม่ได้ เพราะต้องลากสายไฟยาว ๆ หรือกรณีเกิดเหตุไม่คาดคิด แบตหมด แบตเสีย ก็ถอดเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้ง่ายกว่า บางรุ่นมีรีโมตควบคุมการสตาร์ทเครื่อง ล็อกและปลดล็อกเพื่อความปลอดภัย ระบบล็อกระยะไกล ระบบตัดไฟป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรขณะชาร์จพลังงานไฟฟ้า หรือเชื่อมต่อกับไวไฟเพื่อสั่งงาน ฟังก์ชันต่าง ๆ เหล่านี้ หากเราใช้งานครบ หรือเลือกเพียงการใช้งานที่ได้ใช้ในชีวิตประจำวันจริง ๆ ก็จะคุ้มค่าอย่างแน่นอน

เลือกจากประกันและบริการหลังการขาย

          สุดท้ายเรื่องสำคัญที่ขาดไปไม่ได้ คือ มองหาการรับประกันที่คุ้มค่า และการบริการหลังการขายที่ช่วยให้เรามั่นใจ เพราะจักรยานไฟฟ้ามีส่วนสำคัญ คือ แบตเตอรี่และระบบไฟฟ้า ที่มีโอกาสเกิดปัญหาชวนปวดหัวขึ้นมาได้ การเลือกซื้อจากแบรนด์คุณภาพ หรือบริษัทที่มีชื่อเสียงมายาวนาน ก็จะช่วยลดความเสี่ยงจากปัญหาต่าง ๆ ได้ดีมากกว่า ควรเลือกจากบริษัทที่มีการรับประกันมอเตอร์ รับประกันแบตเตอรี่ที่มีความชัดเจน รวมไปถึงที่มีศูนย์บริการครอบคลุม  

ข้อดีและข้อเสียของรถจักรยานไฟฟ้ามีอะไรบ้าง

ข้อดีของรถจักรยานไฟฟ้า

  • น้ำหนักเบา หากเปรียบเทียบกับมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ต้องบอกว่าจักรยานไฟฟ้าน้ำหนักเบากว่ามาก ขนาดก็ไม่ใหญ่ ทำให้ใช้งานได้ง่าย ควบคุมง่าย คนตัวเล็ก ๆ ก็ใช้ได้สะดวก  
  • ยกขึ้นรถไฟฟ้าได้ ด้วยความที่เป็นที่นิยม โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ๆ ที่การจราจรติดขัด จักรยานไฟฟ้าเป็นพาหนะที่นำขึ้นรถไฟฟ้าสะดวก โดยเฉพาะจักรยานไฟฟ้าพับได้ที่เหมาะสำหรับคนรุ่นใหม่ หนุ่มสาววัยทำงาน หรือใช้เดินทางในระยะสั้น ๆ 
  • ประหยัดพลังงาน ระบบมอเตอร์ไฟฟ้า ช่วยให้เราไม่ต้องออกแรงปั่นเหมือนจักรยานทั่วไป หากต้องปั่นในระยะไกล ๆ เป็นประจำทุกวัน ถือว่าช่วยประหยัดแรง ประหยัดเวลา ประหยัดพลังงานได้เป็นอย่างดี
  • ความปลอดภัยสูง ด้วยข้อจำกัดต่าง ๆ ทำให้จักรยานไฟฟ้าทำความเร็วสูงสุดได้เพียง 30-40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งถือว่าเป็นความเร็วที่ปลอดภัยต่อการขับขี่ ช่วยลดอุบัติเหตุ
  • หาที่จอดง่าย การหาที่จอดรถในเมืองใหญ่ ๆ อาจจะเป็นเรื่องยุ่งยากปวดหัว แต่สำหรับขนาดของจักรยานไฟฟ้า เหมาะกับการใช้งานพื้นที่จำกัด หาที่จอดได้ง่าย สามารถเก็บไว้ในห้องทำงาน หรือพื้นที่แคบ ๆ ได้สบาย
  • เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การใช้พลังงานไฟฟ้าจากมอเตอร์ จะไม่มีการปล่อยไอเสียหรือควันเสียออกมา ทำให้เป็นรถที่เหมาะกับสังคม Green Energy

ข้อเสียของรถจักรยานไฟฟ้า

  • ราคาสูงกว่าจักรยาน เพราะมีทั้งมอเตอร์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ และชุดควบคุม เพิ่มเข้ามา ทำให้จักรยานไฟฟ้ามีราคาสูงกว่าจักรยานทั่วไป 2-3 เท่า
  • ลุยน้ำไม่ได้ จักรยานไฟฟ้าส่วนใหญ่ไม่สามารถใช้ลุยน้ำ หรือขับขี่ตอนฝนตกได้ไม่ดีเท่าที่ควร เพราะน้ำหรือละอองน้ำอาจจะเข้าสู่มอเตอร์ แต่มีบางรุ่นที่มีเทคโนโลยีกันละอองน้ำ IP ต่าง ๆ แต่ก็จะมีราคาสูงขึ้นกว่ารุ่นทั่วไปมากเช่นกัน
  • รับน้ำหนักได้น้อยกว่ามอเตอร์ไซค์ การใช้จักรยานไฟฟ้า จะมีข้อจำกัดในเรื่องความสมบุกสมบัน ส่วนใหญ่จะรับน้ำหนักได้ไม่มาก ประมาณ 100-150 กิโลกรัม หากต้องแบกรับน้ำหนัก 2 คน หรือรับน้ำหนักมากเกินไป อาจส่งผลเสียต่อมอเตอร์ไฟฟ้าที่ต้องทำงานเกินกำลัง


Posted

in

บทความน่าอ่าน

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *